“รถตัก” (Loaders) คือ รถที่ใช้เคลื่อนที่ หรือย้ายวัสดุโดยการตักวัสดุที่ขุด รวมกองไว้แล้ว หรืออาจขุดตักวัสดุในสภาพเดิมที่จับตัวกันไม่หนาแน่นนัก เมื่อตักเสร็จก็จะยกบุ้งกี๋ขึ้น และ เคลื่อนย้ายวัสดุไปเทในที่ที่ต้องการ
1. รถตักล้อยาง (Wheel Loader)
(ดูเพิ่มเติม)
2. รถตักตีนตะขาบ (Crawler Loaders)
ลักษณะคล้ายรถตักล้อยาง เพียงแต่เปลี่ยนจากล้อยางเป็นล้อตีนตะขาบ เพื่อให้สามารถทำงานในพื้นดินเลน หรือหินแหลมคม รถตักตีนตะขาบมีกำลังขับเคลื่อนสูง เนื่องจากจะไม่เกิดการลื่นไถลได้ง่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทำงานบนพื้นที่ไม่แน่นอน สามารถเข้าไปในพื้นที่ขรุขระได้ จึงทำให้ลดค่าใฃ้จ่ายในการเตรียมพื้นที่ในการทำงาน สามารรถทำงานในพื้นที่ลุ่มหรือมีลักษณะต่ำได้ดี รถตักตีนตะขาบ คือ เครื่องจักกลที่เปลี่ยนกำลังจากเครื่องยนต์ให้เป็นกำลังขับเคลื่อน โดยส่งกำลังจากเคลื่อนยนต์ไปหมุนล้อเฟือง เพื่อไปขับชุดสายพานตีนตะขาบให้เคลื่อนไป และทำให้แผ่นตีนตะขาบซึ่งติดอยู่กับสานพานตีนตะขาบตะกุยไปบนพื้น ทำให้ตัวรถเคลื่อนที่ไป การบำรุงรักษาเช่นเดียวกับรถตักล้อยาง
3. รถตักหน้า ขุดหลัง (Backhole Loader)
1. การเลือกชนิดของรถตัก และขนาดของบุ้งกี๋รถตักนั้นจะต้องสัมพันธ์กับขนาดของปากโม่ทีรับหินได้ เนื่องจากจะทำให้หินขนาดใหญ่เกินไปไม่ติดค้างที่ปากโม่ 2. ขนาดของบุ้งกี๋รถตักจะต้องสัมพันธ์กับขนาดของรถบรรทุกจำนวนครั้งของการตักจะต้องพอดีกับความสามารถของรถบรรทุกได้ 3. ความสูงในการตักจะต้องเหมาะสม 4. ความคล่องตัว และคามปลอดภัยในการทำงาน 5. ความสามารถในการขจัดสิ่งกีดขวาง 6. เงินลงทุน และค่าใช้จ่ายในการตักพร้อมทั้งค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ความสามารถมาตรฐานของรถตักล้อยาง รถตักขนาด 120 แรงม้า สามารถดัน และตักหิน และทรายได้ 560 ลบม.ต่อวัน
1. การเลือกชนิดของรถตัก และขนาดของบุ้งกี๋รถตักนั้นจะต้องสัมพันธ์กับขนาดของปากโม่ทีรับหินได้ เนื่องจากจะทำให้หินขนาดใหญ่เกินไปไม่ติดค้างที่ปากโม่
2. ขนาดของบุ้งกี๋รถตักจะต้องสัมพันธ์กับขนาดของรถบรรทุกจำนวนครั้งของการตักจะต้องพอดีกับความสามารถของรถบรรทุกได้
3. ความสูงในการตักจะต้องเหมาะสม
4. ความคล่องตัว และคามปลอดภัยในการทำงาน
5. ความสามารถในการขจัดสิ่งกีดขวาง
6. เงินลงทุน และค่าใช้จ่ายในการตักพร้อมทั้งค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา
1. นำพาบุ้งกี๋ที่มีวัสดุให้ต่ำ เพื่อที่จะให้พนักงานขับเห็นทางและการทรงตัวของรถดี 2. จงใช้เวลาในการที่จะทำให้บริเวณที่ทำงานสะอาดและอยู่ในระดับเสมอ 3. ให้ถอยหลังในขณะที่นำพาบุ้งกี๋ที่มีวัสดุลงที่ลาด และให้เดินหน้าในขณะที่ไต่ขึ้น ให้บุ้งกี๋ต่ำที่สุด เท่าที่จะต่ำได้
1. นำพาบุ้งกี๋ที่มีวัสดุให้ต่ำ เพื่อที่จะให้พนักงานขับเห็นทางและการทรงตัวของรถดี
2. จงใช้เวลาในการที่จะทำให้บริเวณที่ทำงานสะอาดและอยู่ในระดับเสมอ
3. ให้ถอยหลังในขณะที่นำพาบุ้งกี๋ที่มีวัสดุลงที่ลาด และให้เดินหน้าในขณะที่ไต่ขึ้น ให้บุ้งกี๋ต่ำที่สุด เท่าที่จะต่ำได้
เมื่อต้องการจะดันให้บุ้งกี๋ตอนล่างขนานกับพื้น อย่าดันในขณะที่บุ้งกี๋อยู่ในตำแหน่งเท
เมื่อไรก็ตามที่แขนของตัวยกบุ้งกี๋อยู่ใกล้หรือต่ำกว่าแนวระดับมันเป็นไปได้ที่ทำให้กระบอกคว่ำ หงายบุ้งกี๋ยืดออกสุด ก่อนที่จะสัมผัสกับตัวหยุดบุ้งกี๋ แบบนี้อาจทำให้กระบอกชำรุดถ้ามีแรงมากระทำกับกระบอกหรือบุ้งกี๋
เมื่อไรก็ตามที่กระบอกคว่ำหงายยืดออกสุด ลูกสูบจะสัมผัสกับทางด้านหน้าของกระบอกคว่ำหงาย ถ้ากระบอกคว่ำหงายต้องยืดออกสุด การชำรุดของกระบอกสามารถจะป้องกันได้ โดยเราต้องเชื่อแน่ว่าลูกสูบสัมผัสกับทางด้านหน้าของกระบอกอย่างนิ่มนวล
1. ตั้งบุ้งกี๋ให้ขนานและเบียดกับพื้น 2. ให้ขับเดินหน้าเข้าสู่กองวัสดุ บังคับให้บุ้งกี๋เข้าไปในกองวัสดุ 3. ให้ดันบังคับคว่ำหงายบุ้งกี๋ทำงานไปมา เพื่อช่วยให้มีแรงเกาะที่บุ้งกี๋ 4. หงายบุ้งกี๋ กลับอย่างเต็มที่เมื่อวัสดุเต็มบุ้งกี๋ 5. ยกบุ้งกี๋ประมาณ 15 นิ้ว หรือให้สูงเพียงพอที่จะนำวัสดุไปได้ และเข้าเกียร์ถอยหลัง 6. ก่อนที่จะถึงที่เท ให้เลื่อนคันบังคับบุ้งกี๋ไปในตำแหน่ง “ยก” เมื่อถึงความสูงที่ตั้งไว้ ตัวบังคับการยกจะกลับมาอยู่ในตำแหน่งว่าง
1. ตั้งบุ้งกี๋ให้ขนานและเบียดกับพื้น
2. ให้ขับเดินหน้าเข้าสู่กองวัสดุ บังคับให้บุ้งกี๋เข้าไปในกองวัสดุ
3. ให้ดันบังคับคว่ำหงายบุ้งกี๋ทำงานไปมา เพื่อช่วยให้มีแรงเกาะที่บุ้งกี๋
4. หงายบุ้งกี๋ กลับอย่างเต็มที่เมื่อวัสดุเต็มบุ้งกี๋
5. ยกบุ้งกี๋ประมาณ 15 นิ้ว หรือให้สูงเพียงพอที่จะนำวัสดุไปได้ และเข้าเกียร์ถอยหลัง
6. ก่อนที่จะถึงที่เท ให้เลื่อนคันบังคับบุ้งกี๋ไปในตำแหน่ง “ยก” เมื่อถึงความสูงที่ตั้งไว้ ตัวบังคับการยกจะกลับมาอยู่ในตำแหน่งว่าง
1. ให้รถขนย้ายอยู่ในมุมที่จะบรรจุวัสดุ โดยการที่ลดระยะทางการวิ่งและการเลี้ยวของรถตักระยะการวิ่งควรจะยาวเพียงพอที่จะทำให้บุ้งกี๋ย้ำสูงสุด โดยปราศจากการเบาเครื่อง 2. ให้รถตักที่จะทำการเทวัสดุอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางของรถขนย้าย ถ้ารถขนย้ายมีตัวรถ 2 ช่วง หรือความยาวมากให้เทจากข้างหน้ามาข้างหลัง 3. ดึงคันบังคับคว่ำหงายบุ้งกี๋ไปในตำแหน่งที่เท 4. ถ้าจะบรรจุหินใหญ่ ให้เอาหินเล็กเทลงไปในรถขนย้ายก่อน อันนี้จะป้องกันไม่ให้พื้นของรถขนย้ายกระทบกับวัสดุที่ใหญ่ 5. ในการบังคับการเทให้บังคับการเทในช่วงสั้นๆ แล้วให้กลับมาในตำแหน่งว่า ทำเช่นนี้หลายๆครั้ง จนกระทั่งบุ้งกี๋ว่างเปล่า 6. เขย่าบุ้งกี๋เพื่อให้วัสดุที่ติดบุ้งกี๋ออก เลื่อนคันบังคับคว่ำหงายไปมาอย่างเร็ว ทำให้ขาของบุ้งกี๋ไม่หยุด 7. ถ้าเป็นไปได้ ให้ลมพัดมาจากทางด้านหลังของท่านในการที่จะเท จะทำให้ฝุ่นไม่เข้าตาและทำให้ฝุ่นพัดออกไปจากตัวเครื่องยนต์ 8. หงายบุ้งกี๋กลับ แล้วให้บุ้งกี๋ต่ำลงอยู่ในตำแหน่งที่จะตักในขณะที่เคลื่อนเครื่องจักรเข้าหาวัสดุ
1. ให้รถขนย้ายอยู่ในมุมที่จะบรรจุวัสดุ โดยการที่ลดระยะทางการวิ่งและการเลี้ยวของรถตักระยะการวิ่งควรจะยาวเพียงพอที่จะทำให้บุ้งกี๋ย้ำสูงสุด โดยปราศจากการเบาเครื่อง
2. ให้รถตักที่จะทำการเทวัสดุอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางของรถขนย้าย ถ้ารถขนย้ายมีตัวรถ 2 ช่วง หรือความยาวมากให้เทจากข้างหน้ามาข้างหลัง
3. ดึงคันบังคับคว่ำหงายบุ้งกี๋ไปในตำแหน่งที่เท
4. ถ้าจะบรรจุหินใหญ่ ให้เอาหินเล็กเทลงไปในรถขนย้ายก่อน อันนี้จะป้องกันไม่ให้พื้นของรถขนย้ายกระทบกับวัสดุที่ใหญ่
5. ในการบังคับการเทให้บังคับการเทในช่วงสั้นๆ แล้วให้กลับมาในตำแหน่งว่า ทำเช่นนี้หลายๆครั้ง จนกระทั่งบุ้งกี๋ว่างเปล่า
6. เขย่าบุ้งกี๋เพื่อให้วัสดุที่ติดบุ้งกี๋ออก เลื่อนคันบังคับคว่ำหงายไปมาอย่างเร็ว ทำให้ขาของบุ้งกี๋ไม่หยุด
7. ถ้าเป็นไปได้ ให้ลมพัดมาจากทางด้านหลังของท่านในการที่จะเท จะทำให้ฝุ่นไม่เข้าตาและทำให้ฝุ่นพัดออกไปจากตัวเครื่องยนต์
8. หงายบุ้งกี๋กลับ แล้วให้บุ้งกี๋ต่ำลงอยู่ในตำแหน่งที่จะตักในขณะที่เคลื่อนเครื่องจักรเข้าหาวัสดุ
1. วางบุ้งกี๋ลงกับพื้นและให้อยู่ในตำแหน่งที่มุมของการขุดน้อยเพิ่มมุมของการขุดเพื่อที่จะช่วยให้มีแรงแกะในพื้นผิวที่แข็งแรง 2. เพิ่มแรงกดให้กับบุ้งกี๋ในขณะที่รถเริ่มต้น เดินหน้าให้คันบังคับบุ้งกี๋กลับมาอยู่ตำแหน่งว่างเมื่อการเกาะนั้นมีน้อย 3. ให้ระดับการตักอยู่คงที่ในขณะเคลื่อนเดินหน้า โดยการยกหรือวางบุ้งกี๋ด้วยคันบังคับ 4. หงายบุ้งกี๋กลับจนหยุดเมื่อบรรจุเต็มบุ้งกี๋ นำพาวัสดุ โดยยกบุ้งกี๋สูงประมาณ 15 นิ้ว เหนือพื้นในขณะที่เคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ที่จะเท
1. วางบุ้งกี๋ลงกับพื้นและให้อยู่ในตำแหน่งที่มุมของการขุดน้อยเพิ่มมุมของการขุดเพื่อที่จะช่วยให้มีแรงแกะในพื้นผิวที่แข็งแรง
2. เพิ่มแรงกดให้กับบุ้งกี๋ในขณะที่รถเริ่มต้น เดินหน้าให้คันบังคับบุ้งกี๋กลับมาอยู่ตำแหน่งว่างเมื่อการเกาะนั้นมีน้อย
3. ให้ระดับการตักอยู่คงที่ในขณะเคลื่อนเดินหน้า โดยการยกหรือวางบุ้งกี๋ด้วยคันบังคับ
4. หงายบุ้งกี๋กลับจนหยุดเมื่อบรรจุเต็มบุ้งกี๋ นำพาวัสดุ โดยยกบุ้งกี๋สูงประมาณ 15 นิ้ว เหนือพื้นในขณะที่เคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ที่จะเท
Tags: ความรู้เกี่ยวกับรถตัก, รถตักล้อยางคืออะไร, รถตักใช้งานอย่างไร, รถตักล้อยาง, วิธีตักดิน, ใช้งานอย่างถูกวิธี, รถตักใช้ตักอะไรได้บ้าง
ที่มา : www.smtmachinery.com/viewtopic.php?id=00011
รถตักล้อยาง WA450-3E S/N 50349
รถตักล้อยาง WA300-3E S/N 55313
รถตักล้อยาง WA100-1 S/N 32717